วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / ค่านิยม

วิสัยทัศน์ :

เป็นศูนย์กลางด้านการพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือน

จังหวัดชายแดนภาคใต้


พันธกิจ :

1. จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามบทบาท และภารกิจของ ศอ.บต.

                   2. การบริหารจัดการความรู้ และพัฒนาหลักสูตรที่ได้มาตรฐานสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                   3. ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือนจังหวัดชายแดนภาคใต้

                   4. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                   5. ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการด้านพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือนในจังหวัดชายแดนภาคใต้


ค่านิยม :

G – Governancs         ธรรมมาภิบาล   

                   D – Development      การพัฒนา

                   P –  Professional        มืออาชีพ

                   พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างมืออาชีพด้านหลักธรรมาภิบาล

เป้าประสงค์

1. ปรับปรุงนโยบาย และยุทธศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อส่งเสริมให้  เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือนเป็นคนดี คนเก่ง พร้อมปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

                   2. พัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพเพื่อการเสริมสร้าง ความรู้ จิตสำนึก และค่านิยมในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลการพัฒนาทักษะเดิม เพิ่มเติมทักษะใหม่ในการปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                   3. นำระบบเทคโนโลยี ดิจิทัล มาใช้ เพื่อสร้างความแม่นยำ คล่องตัว และรวดเร็วในการปฏิบัติงาน สามารถตอบสนองรูปแบบการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และความต้องการของประชาชนในพื้นที่

                   4. สร้างเครือข่ายการทำงานเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือน เพื่อปฏิบัติงานแบบบูรณาการร่วมกัน

                   5. พัฒนาระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินกลไกในการดำเนินนโยบาย และยุทธศาสตร์ การพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือน ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อนำมาใช้ในการกำหนดปรับปรุงนโยบาย และยุทธศาสตร์ การพัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์

1. พัฒนาฐานข้อมูล และเชื่อมโยงข้อมูลของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

          2. สร้างเครือข่ายการทำงานกับหน่วยงานภายในเพื่อพัฒนาหลักสูตรในการพัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายพลเรือนให้มีประสิทธิภาพ

          3. เสริมสร้างค่านิยมในการปฏิบัติงานในพื้นที่ฐานหลักธรรมาภิบาลให้เจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายพลเรือนใน จชต.

          4. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ สพจ. ให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพ

          5. เสริมสร้างช่องทางทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ และภาคประชาชน

          6. เสริมสร้างศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร สพจ.

          7. พัฒนารูปแบบการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรที่นำไปสู่การพัฒนาการทำงานขององค์กรอย่างต่อเนื่อง