ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาการบริหารด้วยการมีส่วนร่วมและบูรณาการแก้ไขปัญหาพื้นที่พิเศษ

เป้าหมาย ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเป็นธรรม ไม่หวาดระแวง และจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเจริญรุ่งเรือง

วัตถุประสงค์
    1) เพื่อน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักรัฐประศาสโนบายของรัชกาลที่ 6 ให้เกิดผลในทางปฏิบัติทั้งในด้านการบริหารและการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม
    2) เพื่อให้ ทุกภาคส่วนได้บูรณาการและมีส่วนร่วมในการบริหาร การพัฒนาและการแก้ปัญหา จชต. ปรับปรุงพัฒนากฎระเบียบให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในพื้นที่ และส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ที่รู้คน รู้พื้นที่ รู้ปัญหาความต้องการต่าง ๆ เป็นอย่างดี ได้แก้ปัญหาของตนเอง

กลยุทธ์
    1) น้อมนำ หลักรัฐประศาสนโนบายของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ข้อที่ 1 ที่ได้ทรงวางไว้ว่า “วิธีปฏิบัติการอย่างใด เป็นทางให้พลเมืองรู้สึกเห็นไปว่าเป็นการเบียดเบียนกดขี่ศาสนาอิสลาม ต้องยกเลิกหรือแก้ไขเสียทันที การใดจะจัดขึ้นใหม่ต้องอย่าให้ขัดกับลัทธินิยมของอิสลาม หรือยิ่งทำให้เห็นเป็นการอุดหนุนศาสนามหมัดได้ยิ่งดี” มาใช้ในการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
    2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการคัดเลือกเจ้า หน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นไปตามหลักรัฐประศาสโนบายของรัชกาลที่ 6 และส่งเสริมให้มีการบรรจุแต่งตั้งผู้มีภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม
    3) จัดตั้งสถาบันเพื่อทำหน้าที่พัฒนาบุคลากรให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ตามนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการจัดการโครงการบริหารจัดการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งด้านบริหารบุคลากร อาคารสถานที่ให้เหมาะสม
    4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
    5) ส่งเสริมและสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ
    6) การบริหาร การพัฒนา และการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการบูรณาการการร่วมกับทุกภาคส่วน รวมทั้งงบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และทรัพยากรในการบริหารงานร่วมกัน โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ วัฒนธรรม ประเพณี และความต้องการของประชาชนทุกภาคส่วน
    7) นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารจัดการ การพัฒนา และติดตามประเมินผล รวมทั้งการส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน ชุมชน ในการร่วมสร้างสันติสุข

เป้าหมาย หมู่บ้าน และชุมชนมีความเข้มแข็ง ประชาชนมีความปลอดภัย ลดความหวาดระแวง มีความปรองดอง และมีสันติสุข

วัตถุประสงค์ เพื่อใช้พลังครอบครัว พลังมวลชน ผ่านผู้นำหมู่บ้าน และผู้นำชุมชนร่วมสร้างความปลอดภัย และ ความรักความสามัคคีปรองดอง ชุมชน/หมู่บ้าน มีความเข้มแข็งและมีความสุข

กลยุทธ์
    1) ส่งเสริม สนับสนุนผู้นำศาสนา ผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำจิตวิญญาณ ผู้นำสตรี ผู้นำเยาวชน พลังมวลชนให้มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การสร้างงานสร้างอาชีพ ให้มีรายได้ รวมถึงการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่
    2) สนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านจัดตั้งกลุ่มเยาวชน เพื่อทำกิจกรรมด้านสันติสุขในชุมชน
    3) สนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กร คณะกรรมการหมู่บ้าน วัด มัสยิด เป็นองค์กรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่
    4) ส่งเสริม สนับสนุนมาตรการรักษาความปลอดภัยพื้นที่เศรษฐกิจชุมชนเมืองให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์ระเบิดรุนแรงหรือกรณีระเบิดพร้อมกันหลายจุด
    5) ส่งเสริม สนับสนุนมาตรการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน/ชุมชน ศาสนสถาน ศาสนบุคคล บุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงเพื่อลดจำนวนการก่อเหตุลง
    6) ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษาพูดคุยและรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียในการศึกษารูป แบบการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของพื้นที่ภายใต้ รัฐธรรมนูญ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างพื้นที่และสภาพแวดล้อมเพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี

เป้าหมาย จังหวัดชายแดนภาคใต้มีพื้นที่สร้างสรรค์ สันติภาพเพื่อเป็นเวทีเสรีสำหรับการแลกเปลี่ยนของผู้ที่มีความเห็นต่าง สร้างการมีส่วนร่วมในการลด แก้ไข ฟื้นฟู และป้องกันปัญหาหรือความขัดแย้ง รวมทั้งการฟื้นฟูให้ความเป็นธรรม เพื่อลดความโกรธแค้นชิงชัง นำสู่ความสันติ

วัตถุประสงค์ ตัดวงจรการใช้ความรุนแรงโดยเปิดพื้นที่สันติภาพให้กับผู้มีความเห็นต่างกับรัฐ มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี

กลยุทธ์
    1) เผยแพร่แนวคิด ทฤษฎีด้านสันติวิธีและองค์ความรู้ในการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีให้กับ เจ้าหน้าที่ภาครัฐและองค์กรภาคประชาชนให้เป็นกระแสหลักในการสร้างสังคมสันติ วิธี
    2) รณรงค์ปรับทัศนคติและความคิด ความเชื่อของผู้ที่มีความเห็นต่างและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในกระบวนการพูด คุยเพื่อสันติภาพโดยได้รับหลักประกันความปลอดภัยจากรัฐอย่างทั่วถึง
    3) สร้างพื้นที่ที่มีสภาวะแวดล้อมเหมาะสม และเอื้อต่อการพูดคุยของผู้เห็นต่างร่วมทั้งรับทราบปัญหาและความต้องการของ ผู้เสียหาย ผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ และลดความหวาดระแวง และตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกัน ภายใต้ความหลากหลายของวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม
    4) ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ต่อผู้มีความเห็นต่างกับรัฐ ที่ประสงค์ร่วมกันแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการช่วยเหลือทางกฎหมาย อำนวยความเป็นธรรม เยียวยา ฟื้นฟูด้านจิตใจ แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม และอื่นๆ
    5) สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนและผู้ประกอบการภาคเอกชน ได้ตระหนักและเคารพคุณค่าของลักษณะเฉพาะ ทางศาสนา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เพื่อขจัดและป้องกันเงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความรุนแรงได้
    6) จัดตั้งและสนับสนุนองค์กรเครือข่ายภาครัฐ ประชาชนเพื่อเป็นแกนกลาง ในการขับเคลื่อนกิจกรรม แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เปิดพื้นที่สร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธีอย่าง ต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ภาษา ศิลปะ พหุวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

เป้าหมาย ประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง เป็นคนดี มีคุณธรรม ด้วยการปฏิบัติตามหลักศาสนา มีศักยภาพด้านภาษาอย่างหลากหลาย มีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

วัตถุประสงค์
    1) เพื่อเสริมสร้างคุณภาพประชาชนด้วยการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต
    2) เพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชนอย่างหลากหลาย ทั้งภาษาไทย ภาษาอาหรับ ภาษามลายู และภาษาต่างประเทศที่สำคัญ
    3) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างมีความสุข

กลยุทธ์
    1) พัฒนาหลักสูตรการศึกษา รวมถึงพัฒนาบุคลากร พัฒนาสื่อและเทคโนโลยี พัฒนาอุทยานการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการยกระดับ คุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง
    2) ส่งเสริมการเรียนรู้ และกิจกรรมทางศาสนาพระพุทธศาสนา ศาสนาอิสลาม และศาสนาอื่นๆ เพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการเรียนรู้สันติศึกษา ตลอดจนส่งเสริมบทบาทขององค์กรทางศาสนามีส่วนร่วมในการสร้างความภาคภูมิใจใน ความเป็นไทย อัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น และสร้างสันติสุขในพื้นที่
    3) ฟื้นฟู อนุรักษ์ รักษาและเผยแพร่อัตลักษณ์ทางภาษา ศิลปะ วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมกิจกรรมเยาวชนให้เป็นพลังสร้างสรรค์พหุวัฒนธรรม
    4) พัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาอาหรับ และภาษาต่างประเทศที่สำคัญ
    5) พัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่ โดยการจัดตั้งวิทยาลัยอิหม่าม มหาวิทยาลัยอิสลามของรัฐ การจัดตั้งสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ การศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับคนไทยในประเทศมุสลิม รวมถึงการพัฒนาระบบบริหารกิจการฮัจญ์และกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดประโยชน์ สูงสุดต่อพื้นที่
    6) สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมและบูรณาการทุกภาคส่วนในการพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต เชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การอำนวยความเป็นธรรม การบังคับใช้กฎหมายการส่งเสริมนำหลักศาสนาหรือยุติธรรมชุมชนในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรง

เป้าหมาย ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความเป็น ธรรมอย่างเสมอภาค ทั่วถึง เสริมสร้างศักยภาพการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และการเยียวยาฟื้นฟูผู้เสียหายผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรง

วัตถุประสงค์
    1) เพื่อ พัฒนากระบวนการยุติธรรมกระแสหลักและยุติธรรมทางเลือกให้มีประสิทธิภาพในการ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสอดคล้องกับความเป็นจริงในพื้นที่
    2) ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทุก ขั้นตอน และส่งเสริมให้มีกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมเฉพาะตามหลักศาสนา (จัดตั้งแผนกคดีครอบครัวและมรดกอิสลามขึ้นในศาลยุติธรรม)
    3) ช่วยเหลือเยียวยา ฟื้นฟูผู้เสียหาย และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความยั่งยืน

กลยุทธ์
    1) ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการยุติธรรมกระแส หลักให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความเป็นจริงในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มาสนับสนุนในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
    2) พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกในการ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เข้มแข็ง รวมทั้งการให้ประชาชนเข้าถึงความเป็นธรรมได้ง่าย รวดเร็ว และเป็นธรรมทุกเรื่อง
    3) ปฏิรูป และเร่งปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่
    4) พัฒนากระบวนการยุติธรรมชุมชน หรือยุติธรรมทางเลือกให้เข้มแข็งโดยส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน การแก้ไขในพื้นที่โดยเฉพาะมิติด้านศาสนา
    5) พัฒนาระบบ และแนวทางปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาวิถีชีวิตของประชาชน และเอื้อต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่
    6) พัฒนาระบบการช่วยเหลือเยียวยาแก่บุคคลทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย อย่างทั่วถึง รวดเร็ว เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การเสริมสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ วิถีชีวิตและความต้องการของประชาชน

เป้าหมาย นำเทคโนโลยีช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิต ทางการเกษตรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างงาน สร้างอาชีพ พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ในฐานะประตูสู่อาเซียนโดยส่งเสริมภาคประชาชนเป็นผู้ ค้าและลงทุน

วัตถุประสงค์ พัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ วิถีชีวิต และความต้องการของประชาชน และลดอัตราการว่างงานลงอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์
    1) ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก โดยเฉพาะพืชประจำถิ่น (ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล) และการส่งเสริมการประมงซึ่งเป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่น โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่
    2) ส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร ปศุสัตว์ อุตสาหกรรม การค้า การลงทุน การบริการและระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Logistic) สู่การเป็นประชาคมอาเซียน
    3) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการเกษตร อุตสาหกรรม การพาณิชย์ และการบริการให้คุ้มค่ากับการพัฒนาที่ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
    4) สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ในสินค้าและบริการให้เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นของจังหวัดชายแดนภาคใต้
    5) กำหนดมาตรการพิเศษที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต การท่องเที่ยว กีฬาและผู้ด้อยโอกาส

เป้าหมาย พัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ส่งเสริมการท่องเที่ยวและศักยภาพด้านการกีฬา

วัตถุประสงค์ ทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญต่ออนาคตของ พื้นที่จึงต้องพัฒนาให้มีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งได้รับการพัฒนาความสามารถด้านการกีฬา และส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศักยภาพของพื้นที่

กลยุทธ์
    1) ส่งเสริม ป้องกัน แก้ไขปัญหา และสร้างเครือข่ายผู้ด้อยโอกาส ผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม
    2) ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบยั่งยืน โดยใช้ศาสนา กีฬา แพทย์ สาธารณสุข และครอบครัวเข้มแข็ง
    3) จัดตั้งสถาบันหรือโรงเรียน หรือสถานพยาบาลเฉพาะสำหรับเยียวยาหรือฟื้นฟูผู้ด้อยโอกาส และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
    4) สนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาสได้รับบริการสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
    5) สนับสนุนและส่งเสริมกีฬาด้านการจัด กิจกรรมการแข่งขัน อุปกรณ์กีฬา และสนามกีฬา ทั้งกีฬาสากลและกีฬาพื้นบ้านให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่อย่างครบ วงจร
    6) ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์และทางวัฒนธรรมของพื้นที่ ทั้งด้านการพัฒนาบุคลากร แหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลและสร้างภาพลักษณ์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 8 การสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน

เป้าหมาย ประชาชนมีการรับรู้ที่ถูกต้องและมีความเข้าใจที่ดีต่อกันเพื่อคืนสันติสุขสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้

วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการสื่อสาร สร้างความเข้าใจที่ดีและรับผิดชอบร่วมกัน ในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

กลยุทธ์
    1) เปิดเวทีแสวงหาความจริงร่วมกันกับประชาชน ในพื้นที่ โดยให้หน่วยงานด้านสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชน รับฟังข้อมูล ข้อเท็จจริงจากชุมชน เพื่อนำเสนอต่อสาธารณะ
    2) เปิดช่องทางการสื่อสารทุกรูปแบบจากรัฐสู่ สาธารณชน และการเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารสองทางร่วมกันกับทุกภาคส่วนให้สอดคล้อง กับสภาพพื้นที่ วิถีชีวิต เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งด้านภาษาไทย มลายู อังกฤษ และภาษาอาหรับ รวมทั้งการสื่อสารสังคมออนไลน์อย่างมีจริยธรรม และมีจรรยาบรรณ
    3) ส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของสื่อบุคคลที่ ได้รับการยอมรับ และมีศักยภาพในการเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ ผู้บริหารระดับประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
    4) ให้ประชาชนมีโอกาสใช้ช่องทางการสื่อสาร ทุกรูปแบบ เพื่อการเสนอข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นด้วยความรับผิด ชอบร่วมกัน และส่งเสริมการพูดคุยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างสื่อเชิงบวก และเปิดพื้นที่ในการเสนอสื่อให้แก่เยาวชนมากขึ้น
    5) รับรู้ รับฟังความคิดเห็นจากทุกกลุ่ม และติดตามการแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างกว้างขวางขึ้น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 9 การเสริมสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

เป้าหมาย ใช้พลังกลุ่มประเทศโลกมุสลิมในการส่งเสริม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม กีฬา และการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่ ใช้ศักยภาพของการเป็นผู้รู้ภาษามลายู นำสังคมไทยสู่กลุ่มประเทศมุสลิมในอาเซียนเพื่อการค้า การลงทุน

วัตถุประสงค์ เพื่อใช้ศักยภาพของประชาชนที่นับถือศาสนา อิสลามและใช้ภาษามลายูเชื่อมโยงกับโลกมุสลิม ให้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาการศึกษา ศาสนา และเศรษฐกิจของพื้นที่

กลยุทธ์
    1) เผยแพร่ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องให้กับ ประเทศในโลกมุสลิมและต่างประเทศ มีความเข้าใจและสนับสนุนการพัฒนา รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ในแนวสันติวิธี เพื่อไม่ให้มีการยกปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นประเด็นสากลในเวทีระหว่าง ประเทศ อาทิ องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) สหประชาชาติ เป็นต้น รวมทั้งอาศัยความร่วมมือของประเทศประชาคมอาเซียน ซึ่งมีบทบาทสำคัญใน OIC อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
    2) พัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนนัก เรียนทุนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้กับประเทศในโลกมุสลิม เพื่อจะเป็นกำลังสำคัญในการในการพัฒนาสังคม การศึกษา ศาสนา และเศรษฐกิจของ จชต.
    3) ในมิติทางศาสนา สนับสนุนผู้นำศาสนาในโลกมุสลิมซึ่งเป็นที่ยอมรับในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาให้ความรู้หลักการศาสนาอิสลามเพื่อการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ ซึ่งปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
    4) ใช้ศักยภาพของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ประสบความสำเร็จซึ่งพำนักอยู่ในต่างประเทศ และสนับสนุนคนไทยที่พำนักอยู่ในประเทศมุสลิมเป็นเครือข่ายหรือเป็นทูต วัฒนธรรม ซึ่งจะมีส่วนในการพัฒนาสังคม การศึกษา ศาสนา และเศรษฐกิจของจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ การอบรมให้ความรู้ด้านมัคคุเทศก์แก่ผู้ที่พูดภาษาอาหรับและภาษามลายูได้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจากประเทศโลกมุสลิม โดยเฉพาะตลาดสุขภาพ ซึ่งกลุ่มลูกค้าจากประเทศตะวันออกกลางนิยมเดินทางมารักษาทางการแพทย์และพัก ฟื้นเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
    5) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสร้างความ สัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาเซียน ภายใต้หลักการ “หนึ่งฐานการผลิต หนึ่งตลาด” ผ่านกรอบความร่วมมือทวิภาคีได้แก่ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย- มาเลเซีย (JDS) กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ กรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย (IMT-GT) เป็นต้น